http://www.youtube.com

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประเพณีชักพระ


( นักศึกษาคณะครุศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 เข้าร่วมกิจกรรมลากพระแบบโบราณ ณวัดคีรีวง)


     ลากพระหรือชักพระ หรือแห่งพระ เป็นประเพณีของชาวภาคใต้ ที่ปฏิบัติมา ตั้งแต่โบณาณ ประเพณีลากพระ เล่ากันมาเป็นเชิงพุทธตำนานว่า หลังจาก พระพุทธองค์ทรงพระทำปาฏิหาริย์ปราเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง (ที่จริงเป็นใต้ต้นมะม่วง ชื่อ คัณฑามพ์ แปลว่า ต้นมะม่วงที่นายคัณฑะปลูก) กรุงสาวัตถีก็เป็นฤดูพรรษาพอดี พระองค์เสด็จจากมนุษยโลก ไปจำพรรษา  ณ ดาวดึงส์ ด้วยพระประสงค์จะแสดงธรรม โปรดพุทธมารดา ซึ่งขณะนั้นอุบัติ (เกิด) เป็นเทพบุตรสถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพ (เหตุที่ทรงใช้ดาวดึงส์ เนื่องจากพระองค์มีพระประสงค์ จะโปรดเทพชั้นต่ำกว่าด้วย เพราะหากไปโปรดพุทธมารดาที่ดุสิต เทพชั้นต่ำกว่าจะขึ้นไปไม่ได้ แต่เทพชั้นสูงกว่า ลงมาชั้นต่ำกว่าได้ เปรียบเหมือนคนธรรมดาจะเข้าวังไม่ได้ แต่พระราชเสด็จออกมา ฟังธรรมกับคนธรรมดาได้) พระองค์โปรดพุทธมารดาจนสิ้นสมัยพรรษา (ออกพรรษา) แล้วเสด็จกลับมนุษยโลก ณ เมืองสังกัสสะนคร ในวันขึ้น 15 เดือน 11

        
(ชาวบ้านชุมชนคีรีวง ร่วมแรงรวมใจ ลากเรือพระ)


ประเพณีลากพระบก

     การที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ดังกล่าว ทำให้ชาวเมือง มีความปลาบปลื้มใจเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการแสดงถึงความปีติยินดี ชาวเมือง จึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้ แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับ ของพระพุทธองค์  จากเหตุการณ์ครั้งนั้น จึงถือกันมา เป็นประเพณีลากพระ หรือชักพระ หรือแห่พระสืบมา ครั้นเลยพุทธกาล และเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น พุทธศาสนิกชน จึงนำเอาพระพุทธรูปมาแห่งแหนสมมติแทนพระพุทธองค์




( เรือพระลอยน้ำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช )

ประเพณีลากพระน้ำ
     การที่เกิดประเพณีลากพระขึ้นในภาคใต้ และกลายเป็นประเพณีสำคัญสืบมานั้น ซึ่งจะเนื่องด้วยพุทธตำนานและลัทธิศาสนาพราหมณ์ แล้วยังสันนิษฐานว่า น่าจะมี คตินิยมดั้งเดิมอย่างอื่นเป็นพื้นฐานอยู่ด้วย กล่าวคือ ในเดือน 11 นั้น เป็นที่ภาคใต้ กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ประชาชนส่วนมากประกอบอาชีพการเกษตร สิ่งปรารถนาที่พ้องกัน จึงได้แก่การขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  งานลากพระจึงมุ่งขอฝน เพื่อการเกษตร จนเกิดเป็นคติความเชื่อว่า การลากพระทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

  ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจเป็นอยากมากที่ได้เข้าร่วมสืบสานงานประเพณีชักพระ ทั้งตอนเช้าที่วัดคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รู้จักการลากพระแบบโบราณ ได้ร่วมทางพระกับคนในชุมชน ทำให้เห็นถึงความสามัคคี ของคนในชุมชน  ภาคบ่ายก็ได้ร่วมงานลากพระแข่งเรือที่ อำเภอปากพนัง ผู้คนมากมาย มาร่วมงานและทำบุญในครั้งนี้



....................................................................................................................................................





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น